เมนู

อธิบายคำว่า วิหรติ (อยู่)


คำว่า วิหรติ นั้น เป็นคำแสดงการประกอบการอยู่ด้วยอิริยาบถ
อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาการอยู่ด้วยอิริยาบถ 4. อธิบายว่า ตัดขาดการ
เบียดเบียนอิริยาบถหนึ่งด้วยอิริยาบถนั้น แล้วจึงนำอัตภาพอันยังไม่ตกไป ให้
เป็นไปอยู่.

อธิบายคำว่า พหิทฺธา กาเย เป็นอาทิ

(ในกายภายนอกเป็นต้น)
คำว่า พหิทฺธา กาเย ได้แก่ ในกายของผู้อื่น.
คำว่า อชฺฌตฺตพหิทฺธา กาเย ความว่า ในกายของตนตามกาล
สมควร ในกายของผู้อื่นตามกาลสมควร. ก็โดยนัยแรก ท่านกล่าวการกำหนด
กายในกายของตน. โดยนัยที่ 2 ท่านกล่าวกำหนดกายในกายของผู้อื่น. โดย
นัยที่ 3 ท่านกล่าวการกำหนดกายในกายของตนตามกาลสมควร ในกายของ
ผู้อื่นตามกาลสมควร. ก็ชื่อว่า อารมณ์ที่กระทบทั้งภายในทั้งภายนอก (พร้อม
กัน) ย่อมไม่มี. แต่ว่า ท่านกล่าวกาลเป็นที่สัญจรของกรรมฐานอันคล่องแคล่ว
แล้ว ๆ เล่า ๆ ไว้ในคำว่า อชฺฌตฺตพหิทฺธา นี้.

อธิบายคำว่า อาตาปี สมฺปชาโน สติมา


คำว่า อาตาปี (มีความเพียร) นั้น เป็นคำแสดงการประกอบความ
เพียรของผู้กำหนดกาย (เป็นอารมณ์). ก็เพราะเหตุที่ภิกษุนั้น ประกอบความ
เพียรที่ท่านให้ชื่อว่า อาตาปะ เพราะเป็นเครื่องเผาผลาญกิเลสทั้งหลายในภพ
ทั้ง 3 ในสมัยนั้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อาตาปี.
คำว่า สมฺปชาโน (มีสัมปชัญญะ) คือผู้ประกอบด้วยญาณ กล่าว
คือ สัมปชัญญะ อันกำหนดเอาซึ่งกาย (เป็นอารมณ์).